เครื่อง AED คืออะไร?

คุณรู้เกี่ยวกับเครื่อง AED หรือไม่? อาจมีคำตอบที่หลากหลาย เช่น “ฉันเคยได้ยินชื่อนี้มาก่อน” “ฉันรู้ว่ามันใช้ทำอะไร” หรือ “ฉันได้รับการฝึกอบรมวิธีการใช้มาแล้ว”

เครื่อง AED เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใครๆ ก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างง่ายดายและสามารถช่วยชีวิตได้

ผมหวังว่าทุกคนจะได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเครื่อง AED และเครื่อง AED จะแพร่หลายทั่วประเทศไทยมากขึ้นกว่าปัจจุบัน

เครื่อง AED คืออะไร?

 

AED ย่อมาจาก「Automatic External Defibrillator」ซึ่ง AED เป็นอุปกรณ์ที่จะขจัดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะโดยอัตโนมัติ หากหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยเหตุผลบางประการ AED จะวิเคราะห์สภาพการเต้นของหัวใจโดยอัตโนมัติและสามารถตัดสินว่าจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าช็อตหรือไม่ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่าย และแม้แต่คนทั่วไป (ที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์) ที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ก็สามารถช่วยชีวิตได้โดยปฏิบัติตามเสียงนำทางวิธีการใช้  ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะกะทันหันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเมื่อไรก็ได้ ด้วยความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับเครื่อง AED เราอาจสามารถช่วยชีวิตสำคัญของคนหนึ่งได้

 

ทำไมจึงต้องมีเครื่อง AED?

 

กรณีเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายได้ โอกาสที่รอดชีวิตก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว หากไม่ทำอะไรเลย และแม้ว่าจะรอดชีวิตได้ก็อาจนำมาสู่การได้รับความเสียหายทางสมองอย่างรุนแรง ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ จำเป็นต้องช็อตไฟฟ้าเพื่อให้ฟื้นฟูสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจห้องล่างและทำให้หัวใจที่เต้นผิดจังหวะกลับสู่สภาวะปกติ  โดยเครื่อง AED มีหน้าที่ส่งไฟฟ้าช็อตด้วยการติดแผ่นอิเล็กทรอนิกส์กับร่างกาย และเครื่อง AED จะวิเคราะห์และตัดสินว่าจำเป็นต้องทำไฟฟ้าช็อตโดยอัตโนมัติหรือไม่

 

หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ คืออะไร?

 

หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ คือภาวะที่โพรงหัวใจสั่นและกระตุก หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะสามารถเกิดขึ้นได้ไม่เพียงแต่ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือพันธุกรรมเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การวิ่งจ็อกกิ้ง การออกกำลังกาย หรือเมื่อลูกบอลโดนหน้าอก ในภาวะนี้ หัวใจห้องล่างจะไม่สามารถทำงานที่เป็นปั้มได้เท่าที่ควร และหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายได้ด้วย หลังจากนั้นไม่กี่นาที การหายใจจะหยุดลงและเลือดไม่สามารถเข้าถึงอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง ไต และตับ ได้ ซึ่งนำไปสู่ภาวะวิกฤติในที่สุด

 

ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ กับอัตราการรอดตาย

 

เมื่อภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ ทำให้สมองขาดออกซิเจน อัตราการรอดชีวิตจะลดลง 7% ถึง 10% ทุกๆ นาที หากปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 10 นาที อาจถึงแก่ชีวิตได้ ในประเทศไทย บางทีอาจใช้เวลานานกว่า 10 นาทีก่อนที่รถพยาบาลจะมาถึง

ประเด็นสำคัญคือความเร็วที่ผู้ที่อยู่ตรงนั้น (by stander)ในที่เกิดเหตุสามารถจัดการไฟฟ้าช็อตโดยใช้เครื่อง AED ได้เร็วแค่ไหน  ตัวอย่างเช่น เมืองซีแอตเทิลในสหรัฐอเมริกา มีอัตราการช่วยเหลือชีวิตฉุกเฉินสูงที่สุดในโลก อัตราการจัดการปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยประชาชนทั่วไปที่สูงในที่เกิดเหตุ ส่งผลให้อัตราการรอดชีวิตสูงได้ด้วย

 

กรณีศึกษาช่วยชีวิต

 

ในเดือนมีนาคม ปี2022 ครูมัธยมต้นชาวญี่ปุ่นวัย 31 ปีที่ไม่มีปัญหาสุขภาพเป็นพิเศษ ล้มลงอย่างกะทันหันในช่วงทำกิจกรรมของชมรม  นักเรียนคนหนึ่งที่บังเอิญได้เรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง AED และ CPR ในชั้นเรียนเมื่อสองเดือนก่อน นักเรียนคนนั้นได้โทรหาโรงพยาบาล ผลัดกันกดหน้าอกและใช้เครื่อง AED รอให้รถพยาบาลมาถึง

โดยการช่วยหลืออย่างรวดเร็วของนักเรียนมัธยมต้นคนนั้น ครูจึงฟื้นตัวและสามารถกลับไปทำงานได้ในอีกหนึ่งเดือนต่อมา มีหลายกรณีเช่นนี้ทั้งในญี่ปุ่นและทั่วโลก

ปัจจุบันความตระหนักรู้เกี่ยวกับเครื่อง AED ในประเทศไทยยังไม่เพียงพอ การช่วยชีวิตไม่ใช่แค่หน้าที่ของแพทย์และพยาบาลเท่านั้น การเปลี่ยนกรอบความคิดของพลเมืองแต่ละคนจะส่งผลให้อัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นและจำนวนชีวิตที่รอดพ้นได้

สรุป

 

ALSOK Thai ไม่เพียงแต่จำหน่ายเครื่อง AED เท่านั้น แต่ยังจัดให้มีการบรรยายและการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีใช้เครื่อง AED และ CPR โดยกิจกรรมเหล่านี้ เราหวังว่าเครื่อง AED จะแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทยในอนาคต

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อสำนักงานขาย ALSOK Thai

Back to Column page